วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับโทรศัพท์ หลักการโทรศัพท์บ้าน/มือถือ GSM CDMA และ3G

หลักการโทรศัพท์บ้าน/มือถือ

*ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าเป็นเครื่องมือสื่อสารให้ติดต่อพูดถึงกันได้ในระยะไกลโดยใช้สายตัวนำโยงติดต่อถึงกัน และอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสำคัญ 
*โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (และมีการเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ตโฟน
*โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส
GSM CDMA และ3G
*GSM คืออะไร
*          GSM (Global System for Mobile communication) เป็นระบบเทคโนโลยีเคลื่อนที่ดิจิตอลที่ใช้อย่างกว้างขวางในยุโรปและส่วนอื่นของโลก GSM ใช้การแปรผันของ time division multiple access (TDMA) และได้รับการใช้มากที่สุดของสามเทคโนโลยีโทรศัพทฺไร้สายดิจิตอล technologies (TDMA, GSM, and CDMA) การทำให้เป็นดิจิตอลและบีบอัดข้อมูลของ GSM จากนั้นส่งไปตามช่องด้วยอีก 2 สายต่อเนื่องของข้อมูลผู้ใช้ในแต่ละสล๊อต สิ่งนี้ทำงานได้ที่แถบความถี่ 900 MHz หรือ 1800 MHz
*3G คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือมาตรฐาน IMT-2000 นั้นนิยามสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า
*“ต้องมี แพลทฟอร์ม (Platform) สำหรับการหลอมรวมของบริการต่างๆ อาทิ กิจการประจำที่ (Fixed Service) กิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) บริการสื่อสารเสียง ข้อมูล อินเทอร์เน็ต และ พหุสื่อ (Multimedia) เป็นไปในทิศทางเดียวกัน” คือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูล ดิจิตอล ไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้
*“ความสามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก (Global Roaming) ” คือ ผู้บริโภคสามารถ ถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง
*“บริการที่ไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service) ” คือ การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยน เซลล์ไซต์ (Cell Site) เขาใช้คำว่า Seam less นั้นแปลว่า ไร้รอยตะเข็บนะครับ
*อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ในมาตรฐาน IMT-2000 นั้นกำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราความเร็วดังนี้ [
*
*ในสภาวะอยู่กับที่หรือขณะเดิน มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 2 เมกะบิต/วินาที
*ในสภาวะเคลื่อนที่โดยยานพาหนะ มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 384 กิโลบิต/วินาที
*ทุกสภาวะ มีความเร็วอย่างมากที่สุด 14.4 เมกะบิต/วินาที





วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โครงการ Gemini


โครงการ Gemini
โครงการอวกาศโครงการที่ 2 ของสหรัฐฯ ประกาศในเดือนมกราคม 1962. เป็นโครงการที่ส่งมนุษย์อวกาศ ครั้งละสองคน และให้ชื่อว่า Gemini โครงการนี้เป็นโครงการ ต่อเนื่องระหว่างโครงการ Mercury ไปจนถึงคนไปลงบนดวงจันทร์ ความสำเร็จของโครงการ มีความสำคัญมากต่อการไปดวงจันทร์ จุดมุ่งหมายของการเดินทางของ Gemini ทั้ง 10 เที่ยว ใช้ระยะเวลา 20 เดือน จาก 1965 ถึง 1966 คือ
       1) ให้ทั้งคน และเครื่องมือ อยู่ในอวกาศ ยาวสองอาทิตย์ 
      2) จุดนัดพบและการเชื่อมต่อ ระหว่างยานอวกาศด้วยกัน
      3) ด้วยวิธีการกลับเข้าสู่บรรยากาศของโลก และลงสู่พื้นในที่ ๆ กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งเพียงพอที่จะใช้กับการเดินทางของ Apollo ต่อไปจากโครงการ Gemini ทำให้คนอเมริกันสามารถลบภาพ ความสงสัย ในความสามารถไปดวงจันทร์ลงได้ โครงการ Gemini ได้ทำหลายๆอย่าง เช่นการมาพบกันของยานอวกาศ และ การ ต่อเชื่อมเข้าด้วยกัน
          ยาน Gemini คือการขยายยาน Mercury ให้ใหญ่ขึ้นซึ่งมีขนาดความยาว 5.8 เมตร (19 ฟุต ) , มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร.( 10 ฟุต ) , ยานต้องบรรทุกมนุษย์อวกาศ 2 คน.Gemini ประกอบด้วยสองส่วนหลักคือ ส่วนที่เรียกว่า อะแดปเตอร์ และ ส่วนรีเอนทรี ก่อนที่จะกลับสู่โลก ส่วนรีเอนทรีจะแยกออกจากส่วน อะแดปเตอร์ และ ทิ้งส่วนอะแดปเตอร์ ไว้ในอวกาศ โดยไม่เก็บกลับมา ยานอวกาศ Gemini ใช้จรวด Titan ซึ่งมีกำลังขับเคลื่อนมากกว่าจรวด Redstone ในการส่งยานอวกาศ ขึ้นสู่วงโคจร และ ยานอวกาศ Gemini ลำแรก เท่านั้น ที่มีชื่อเล่นว่า " MOLLY BROWN ".
โครงการอะพอลโล
 
 
 
 
เมื่อโครงการเมอร์คิวรีพิสูจน์และยืนยันว่า การส่งมนุษย์ขึ้นไปโคจรในอวกาศสามารถเป็นไปได้ นาซาจึงเริ่มโครงการอะพอลโล โดยเป็นความพยายามส่งมนุษย์ไปโคจรรอบดวงจันทร์ โดยยังไม่มีเป้าหมายส่งมนุษย์เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์แต่อย่างใด ทิศทางของโครงการอะพอลโลเปลี่ยนไปเมื่อประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี  ประกาศเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม .. 2504 (ค.ศ. 1961) ว่าสหรัฐอเมริกาจะ "ส่งมนุษย์ไปลงบนดวงจันทร์แล้วกลับสู่โลกอย่างปลอดภัย" ภายในปี .. 2513(ค.ศ. 1970) โครงการอะพอลโลจึงกลายเป็นโครงการนำมนุษย์ลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โครงการเจมินีเริ่มต้นขึ้นไม่นานหลังจากนั้น เพื่อทดสอบและยืนยันเทคนิค ที่จำเป็นต้องใช้กับโครงการอะพอลโลที่ซับซ้อนขึ้น  บัซซ์ อัลดริน ก้าวเดินบนพื้นผิวดวงจันทร์ ในการเดินทางไปกับยานอะพอลโล 11
 

โครงการไวกิ้ง

 
โครงการไวกิ้งของนาซ่าสู่ดาวอังคาร เป็นโครงอวกาศที่มียานอวกาศสองลำคือ Viking 1 และ Viking 2 แต่ละลำจะประกอบด้วยยานโคจร (Viking orbiter) และ ยานสำรวจ (Viking lander) วัตถุประสงค์เพื่อถ่ายภาพความละเอียดสูงของผิวดาวอังคาร ศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศ รวมทั้งค้นหาสิ่งมีชีวิตด้วย. 
          Viking 1 ปล่อยจากฐานเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 1975 และถึงดาวอังคาร 19 มิถุนายน 1976 ใช้เวลา 10 เดือน ช่วงเดือนแรกในวงโคจร จะถ่ายภาพพื้นผิว และสำรวจจุดปล่อยยานสำรวจ   ในวันที่ 20 กรกฏาคม 1976  Viking 1 Lander แยกตัวจากวงโคจรแล้วลงบนดาวอังคาร ที่  Chryse Planitia  ตำแหน่ง 22.48 องศาเหนือ 49.97 องศาตะวันตก
          Viking 2 ปล่อยจากฐานเมื่อวันที่ 9 กันยายน 1975  ถึงดาวอังคาร 7 สิงหาคม 1976 ใช้เวลา 11 เดือน Viking 2 Lander ลงดาวอังคาร ที่ Utopia Planitia ตำแหน่ง 47.97องศาเหนือ 225.74 องศาตะวันตก เมื่อวันที่ 3 กันยายน 1976
          สำหรับยานแม่ที่โคจรอยู่ ได้ส่งภาพพื้นผิวของดาวอังคาร ที่ระดับความสูงต่ำสุด 300 กิโลเมตร โดยมีรอบการโคจรรอบดาวอังคาร 1,400 รอบและ 706 รอบของยานไวกิ้ง 1 และ 2 ตามลำดับ 
          ยาน Viking Landers ได้ส่งภาพพื้นผิวดาวอังคาร วิเคราะห์ตัวอย่างหินและหาองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต ศึกษาสภาพอากาศและองค์ประกอบ Viking 2 Lander สิ้นสุดการส่งภาพเมื่อวันที่ 11 เมษายน 1980 ส่วน Viking 1 Lander สิ้นสุดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 1982 หลังจากที่ส่งภาพมาได้กว่า 1,400 ภาพ จากผลการทดลองของยานไวกิ้ง ทำให้เราได้ภาพพจน์ของดาวอังคารดวงนี้ใหม่ การเกิดภูเขาไฟ , ลานลาวา, แคนยอน,   ล่องลอยธารน้ำบนดาวอังคาร   มีการวัดอุณหภูมิบริเวณโดยรอบที่ยานลงจอด อยู่ในช่วงระหว่าง 150 ถึง 250 องศาเคลวิน และสูงขึ้นในตอนกลางวันระหว่าง 35-50 องศาเคลวิน   รวมทั้งสาเหตุของพายุฝุ่นขนาดใหญ่

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เจียงฮายหน้าแอ่ว


เที่ยวเชียงราย สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย

เชียงราย เป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนขนาบทั้งด้านฝั่งตะวันออกเและฝั่งตะวันตก โดยมีที่ราบอยู่ตรงกลางเริ่มจากเหนือสุดไล่ลมาจนถึงจังหวัดพะเยา   เทือกเขาฝั่งตะวันตกมี สถานที่ท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียงคือ ดอยแม่สลอง ดอยตุง  เทือกเขาฝั่งตะวันออก  สถานที่ท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียงคือ ภูชี้ฟ้า  เชียงรายเป็นจุดแรกที่แม่น้ำโขงไหลเข้ามายังดินแดนของประเทศไทยคือที่สามเหลี่ยมทองคำ อ. เชียงแสน และไหลออกจากประเทศไทยอีกครั้งในจังหวัดเชียงราย ที่อำเภอ เวียงแก่น  การมาของ แม่น้ำโขงเป็นที่มาของ สถานที่ท่องเที่ยว คือ สามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเป็นจุดบรรจบกัน 3 ประเทศคือไทย ลาว พม่า ปัจจุบันเป็น แหล่งท่องเที่ยว ที่น่าสใจที่มีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจไปเที่ยวกันมาก  ที่อำเภอ เชียงแสน มี สถานที่ท่องเที่ยว ทางโบราณสถานมากมาย และมี ทะเลสาบเชียงแสน เป็น สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และ เป็นแหล่งดูนก ที่น่าสนใจ นอกจากนี้ เชียงรายยังมีแหล่งชอปปิ้งที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจกันมากคือ แม่สาย เป็น จุดเหนือสุดแดนสยาม ข้ามฝั่งพม่าไปก็จะเป็นแหล่งชอปปิ้งที่คนไทยชอบข้ามไปเที่ยวคือ ตลาดท่าขี้เหล็ก  นอกจากนี้เชียงรายยังมี Unseen คือ พระขี่ม้าบิณบาต



                                                 

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัด เชียงราย
มีพื้นที่ทั้งหมด 11,678  ตารางกิโลเมตร   แบ่งการปกครองเป็น 16 อำเภอ และอีก 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่  อ. เมือง  อ.แม่สาย  อ.เชียงแสน  อ.เชียงของ  อ. เวียงป่าเป้า  อ. เทิง  อ. เวียงแก่น  อ. ป่าแดด  อ.พาน  อ.แม่สรวย   อ.เวียงชัย  อ.แม่จัน   อ.พญาเม็งราย   อ.ขุนตาล   อ.แม่ฟ้าหลวง  อ.แม่ลาว   กิ่ง อ. เวียงเชียงรุ้ง  และกิ่ง อ. ดอยหลวง